ค่ายสัตหีบ จ.ชลบุรี

วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเข้าเรียนวันที่ 17 สิงหาคม 2553

สวัสดีค่ะเราไม่มีการเรียนการสอนมาเป็นเวลา1สัปดาห์เนื่องจากทางคณะศึกษาศาสตร์มีการวัดประเมินครูอาจารย์ ส่วนครั้งนี้ก็เป็นอีกสัปดาห์ค่ะ แต่อาจารย์ได้พาพวกเรานักศึกษาเอกการศึกษาปฐมชั้นปี 4และน้องชั้นปีที่ 3 ได้จัดกิจกรรมโครงการสำนึกครูปฐมวัยบริการสังคม ณ โรงเรียนสัตหีบฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี แต่พอถึงวันเรามีการเปลี่ยนแปลงแผนงานค่ะ จากจะไปกิจกรรมก็เป็นไปชมกิจกรรมงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ของโรงเรียน เราไปครั้งนี้เป็นเวลา2วัน ระหว่างวันที่ 17-18 สิงหาคม 2553 การเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้พวกเราสนุกสนาน ตื่นเต้นมากๆค่ะ และยังได้ประสบการณ์ใหม่ๆอีกเพียบเลย ขอขอบคุณอาจารย์จ๋ามากๆนะค่ะที่ทำให้เราได้รับประสบการณ์ที่ดีใหม่ และยังได้เยี่ยมชมโรงเรียนที่นี้ที่มีวิธีการสอนที่หลากหลายแตกต่างจากโรงเรียนในเขตกรุงเทพที่เราได้สัมผัส ซึ่งหนูจะนำเอาสิ่งเหล่านั้นมาปรับประยุกต์ใช้ในการฝึกสอนของพวกหนูค่ะ

บันทึกการเข้าเรียนวันที่ 3 สิงหาคม 2553


วันนี้เราไม่ได้มีการเรียนการสอนในห้องเรียนค่ะ แต่มีการเข้าอบรมหลักสูตรการสอนแบบโครงการ(Project Approah)บรูณาการสู่วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา ศิลปะและสื่อหลากหลาย โดยมีผศ.กรรณิการ์ สุสม เป็นผู้บรรยาย
Project Approach ซึ่งเป็นแนวการสอนที่เปิดกว้าง มุ่งเน้นให้เด็กเรียนรู้ตามความต้องการความสามารถและความสนใจของตนเองอย่างลุ่มลึก
การศึกษาอย่างละเอียด ลึก ใน
เรื่องใดเรื่องหนึ่งของ
- เด็กทั้งห้อง - เด็กกลุ่มเล็ก - รายบุคคล
ขั้นตอนการสอนแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
( ระยะเริ่มต้น / พัฒนา / สรุป)
ลักษณะโครงสร้างมี 5 ลักษณะ ที่เด็กจะได้เรียนรู้ในแต่ละระยะของโครงการ
* การอภิปรายกลุ่ม ครูสามารถแนะนำการเรียนรู้ ช่วย
ให้เด็กมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสิ่งที่ตนเอง
ทำกับเพื่อน ในกลุ่มย่อย กลุ่มใหญ่
* การทำงานภาคสนาม เป็นประสบการณ์เรียนรู้ขั้นแรก
* การนำเสนอประสบการณ์เดิม ทบทวน แสดงคำถาม
การสืบค้นในหัวเรื่อง พัฒนาทักษะ การนำเสนอ เช่น
การเขียน วาดภาพ สัญลักษณ์ คณิตศาสตร์ การเล่น
* การสืบค้น จากแหล่งค้นคว้าหลากหลาย การ
สัมภาษณ์ผู้ปกครอง วิทยากร และบุคคลอื่น ๆ
ศึกษานอกสถานที่ สำรวจ วิเคราะห์วัตถุ เขียน
โครงร่าง ใช้แว่นขยาย ค้นคว้าจากหนังสือ
* การจัดแสดง เป็นการแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้
แก่เด็ก เป็นการเล่าเรื่องแก่ผู้มาชม
มีการเรียนการสอนแบบ Project Approach มี 3 ระยะ
ระยะที่ 1 วางแผนและเริ่มต้นโครงการ
1. เสนอชื่อเรื่อง
2. เล่าประสบการณ์เดิม
3. วาดรูปประสบการณ์เดิม
4. ตั้งคำถาม (รายบุคคล)
ระยะที่ 2 พัฒนาโครงการ
ระยะที่ 3 สรุปและอภิปรายผลโครงการ

จากนั้นวิทยากรก็ให้พวกเราแบ่งกลุ่มช่วยกันเขียนแผนจัดประสบการณ์แบบโครงการ โดยตั้งชื่อเรื่องของแต่ละกลุ่มและมีแนวการเขียนให้ดูพร้อมอธิบายเป็นขั้นตอนค่ะ และ
วันนี้เราได้ความรู้เข้าใจการเรียนการสอนแบบ Project Approach มากขึ้นแล้วสามารถนำไปใช้กับการฝึกสอนของเราในภาคเรียนหน้าด้วยค่ะ และยังมีการแลกเปลี่ยนความคิดของครูในสังกัดกรุงเทพมหานครที่เข้าร่วมอบรมกับนักศึกษา ระหว่างอบรมเรายังได้ทักษะหลายๆอย่างจากวิทยากรและมีการใช้เพลง คำคล้องจ้อง ทำให้เรารู้สึกสนุกสนานมากยิ่งขึ้นอีก

วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเข้าเรียนวันที่ 20 กรกฎาคม 2553

วันนี้อาจารย์ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากวันนี้มีการวัดและประเมินอาจารย์ของคณะศึกษาศาสตร์ แต่อาจารย์ก็ได้สั่งให้พวกเราไปหาครูมืออาชีพคนละ 1 เรื่องมานำเสนอสัปดาห์หน้าค่ะ เรื่องที่หามาก็เป็นบทความ ข่าวสารของครูมืออาชีพไว้ดังนี้
“ครู” มืออาชีพ…อาชีพ “ครู” คนละเรื่องเดียวกัน

โดย ptongma


” ครู” ถือเป็นอาชีพที่มีความสำคัญต่อคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ ระบบการศึกษา ตลอดจนการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต หากประเทศใดที่มี “ครู” ที่มีคุณภาพ ย่อมเป็นเครื่องการันตีได้ถึงแนวโน้มในการมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ…

ประเทศ ไทยเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของครูให้มี สมรรถนะและมีความสามารถที่เพียงพอต่อการเป็นหนึ่งใน “เสาหลัก” แห่งการพัฒนาประเทศ ดังจะเห็นได้จากตั้งแต่ในปี 2542 ที่ผ่านมา ได้มีการปฏิรูประบบการศึกษาไทย ไม่ว่าจะครู คณาจารย์ และบุคลากรการศึกษา รวมอยู่ด้วย โดยเป็นการปฏิรูปครูทั้งระบบ ตั้งแต่ระบบการผลิตครู การพัฒนาครู การควบครูวิชาชีพ และการบริหารงานบุคคล

ส่วนของระบบการ ผลิตครูนั้น ได้มีการปรับหลักสูตรที่ใช้ในการผลิตครูที่เป็นผู้สอนในระดับการศึกษาขั้น พื้นฐาน ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยเริ่มใช้หลักสูตร 5 ปี ครั้งแรก ตั้งแต่ปีการศึกษา 2547

และ ณ วันนี้ จากการสิ้นสุดการอบรมด้วยหลักสูตรดังกล่าวนอกจากจะทำให้ได้ “ครูรุ่นใหม่” จำนวนถึง 2,041 คนแล้ว การอบรมที่เข้มงวดตลอดระยะเวลา 5 ปี ยังทำให้ระบบการศึกษาไทยได้บุคคลที่ประกอบ “อาชีพครู” ที่เป็น “ครูอาชีพ” อีกด้วย

ความแตกต่างที่ชัดเจนที่สุดระหว่าง “อาชีพครู” กับ “ครูอาชีพ” คงหนีไม่พ้น “ครูอาชีพ” คือ ครูที่มีความรู้ ความสามารถ ความเมตตากรุณา จิตวิญญาณของความเป็นครูในการอบรมสั่งสอนนักเรียนอย่างสุดความสามารถ โดยไม่รู้จักเหน็ดจักเหนื่อย แม้ว่าปัจจุบันจะมีบุคคลที่ได้ชื่อเป็นเพียงผู้ประกอบ “อาชีพครู” แอบแฝงในแวดวงครูอยู่บ้าง แต่ก็เชื่อว่าครูรุ่นเก่า

หรือแม้แต่ครูรุ่นใหม่ที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตร 5 ปีนั้น ส่วนใหญ่ต่างมีความเป็น “ครูอาชีพ” อย่างเต็มเปี่ยมแน่นอน…

อย่าง ไรก็ตาม ความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยในยุคที่เต็มไปด้วยความวุ่นวายนั้น ย่อมส่งผลให้ “ครู” ถูกคาดหวังจากสังคมในการทำหน้าที่เป็น “เบ้าหลอม” แห่งการผลิตทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นทั้งคนดี คนเก่ง และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขในสังคม

จากความคาดหวังที่สังคมมีต่อ “ครู” ในขณะนี้ ส่งผลให้ “ครูมืออาชีพ” จำเป็นต้องมีการจัดการเรียนการสอน และพัฒนาตัวเองในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนาความสามารถด้านการสอน โดยการจัดการองค์ความรู้ที่จะสอนอย่างมีคุณภาพ ทั้งในแง่การพัฒนาความรอบรู้ ในเนื้อหาสาระของวิชาที่จะสอนอย่างลึกซึ้ง การจัดการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ โดยเน้นการอบรมสั่งสอนที่พัฒนาทักษะชีวิต สุขภาพกาย สุขภาพจิต เพื่อให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้อย่างมีระบบ การจัดกิจกรรมเพื่อให้ผูเรียนคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาได้ มีการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี สารสนเทศ เพื่อการจัดการความรู้ และมีการวัดและประเมินคุณภาพผู้เรียนจากผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง

การ ดำรงชีวิตอย่างมีวินัย มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยการเป็นผู้ที่มีวินัย ตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ กติกาของสังคม มีความประพฤติที่เป็นเบบอย่างที่ดีทั้งทางกาย แต่งกายเหมาะสมกับกาลเทศะ มีมารยาท และเป็นมิตรกับลูกศิษย์ ตามบทบาทและสถานการณ์ ทางวาจา สุภาพ จริงใจและสร้างสรรค์ ที่ก่อให้เกิดกำลังใจ และเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น และทางใจ มีความเมตตา กรุณา กตัญญูกตเวที ซื่อสัตย์สุจริต มีความเป็นกัลยาณมิตร อดทน มีอุดมการณ์เพื่อส่วนรวม ตลอดจนดำรงชีวิตอย่างเหมาะสมกับฐานะ และมีความรักศรัทธา และยึดมั่นในอุดมการณ์แห่งวิชาชีพ

หรือแม้แต่การ ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น เพื่อการพัฒนาตนเอง โดยบทบาทหน้าที่ที่ได้รับจากสังคมนั้น นอกจากจะทำให้ “ครู” จำเป็นต้องรู้จักเปิดใจ เปิดสมอง ในการยอมรับความคิดเห็น หรือความรู้ใหม่แล้ว การรู้จักพัฒนาตนเอง ใฝ่รู้ ศึกษาหาความรู้ใหม่ตลอดเวลา นำความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีใหม่ๆ มาพัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

หากพิจารณาจาก แนวทางในการปฏิบัติตน ทำให้พบว่า “ครูมืออาชีพ” ต้องเป็นครูที่มีความรอบรู้วิชาการที่ตนเองได้ศึกษามา และต้องสามารถถ่ายทอดสิ่งที่ตนเองมีความรอบรู้ให้กับนักเรียนด้วยวิธีการที่ หลากหลาย และสามารถทำให้นักเรียนมีการเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ สามารถทำงานร่วมกับครู ชุมชนและสังคมได้เป้นอย่างดี

ซึ่งหาก “ครูมืออาชีพรุ่นเก่าลายคราม…เก่า หรือใหม่แกะกล่อง” สามารถปฏิบัติตนได้อย่างที่กล่าวในข้างต้น เชื่อว่าระบบการศึกษาของประเทศไทยจะมีคุณภาพมากกว่าที่ปรากฏเฉกเช่นในขณะนี้ อย่างแน่นอน…

เมื่อ “ครู” มีความเป็น “มืออาชีพ” อย่างเต็มเปี่ยม สังคมก็คงจะสัมผัสได้ว่า เหตุใด “ครูอาชีพ” กับ “อาชีพครู” ถึงเป็นคนละเรื่องเดียวกัน…

คงไม่ต้องอธิบายให้ยืดยาว แค่พิจารณาการทำงานก็น่าจะเห็นชัดเจน…!!

โดย ชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ที่มา – มติชนรายวัน หน้า 6 – วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11343

บันทึกการเข้าเรียนวันที่ 13 กรกฎาคม 2553


วันนี้อาจารย์ให้พวกเราเข้่ากลุ่มเป็นโรงเรียนกันมาร่วมกันคิดระบบการทำงานของโรงเรียนตนเอง
โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย(กระจ่าง สิงหเสนี)ร่วมกับโรงเรียนบางบัว โดยมีหน่วยงาน รัฐบาล สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2




In put
- ผู้บริหารให้ความสนใจคุณภาพในการบริหารโรงเรียน
- ฝ่ายวิชาการมีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ
- ครูมีประสิทธิภาพในการสอน ในแต่ละช่วงชั้น
process
- การบริหารงานมีการจัดอย่างเป็นระบบและดำเนินงานอย่างเป็นลำดับขั้นตอน
- ผู้บริหารแบ่งงานอย่างชัดเจนและประชุมทุกสัปดาห์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
- วิชาการมีความเข้มแข็งและจัดให้ครูสอนตามความสามารถและความถนัดของตนเอง
Out put
- เป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในด้านการแข่งขัน คณิตศาสตร์ระดับประเทศ เป็นโรงเรียนตัวอย่างวิถีพุทธ
- เป็นโรงเรียนเจ้าภาพในการจัดประกวดศิลปหัตถกรรมระดับอนุบาล
- เป็นโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝัน
Out come
- ผู้บริหารและครูมีในการจัดการเรียนการสอนให้ตรงกับหลักสูตรในแต่ละช่วงชั้นและมีการบริหารงานอย่างเป็นโรงเรียนโรงเรียนในฝันและมีชื่อเสียงในการแข่งขันในด้านทักษะต่างๆทำให้เด็กในโรงเรียนมีคุณภาพและมีศักยภาพในการเรียนรู้ในช่วงชั้นต่อๆไปอย่างสมบรูณ์แบบ
การทำงานมีการปรึกษาร่วมกัน มีการโต้แย้งกันบ้างและมีการร่วมแสดงความคิดเห็นของแต่ละคนจึงทำให้ห้องมีเสียงดังบ้าง จากการทำงานกลุ่มเสร็จก็นำไปให้อาจารย์ตรวจสอบความถูกต้อง วันนี้พวกเรามีการทำงานเป็นทีมอีกครั้ง สนุกดีค่ะได้พูดคุยซักถามถึงการสังเกตในแต่ละห้องที่ผ่านมา แลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์ที่พบเจอ พอพูดแล้วก็รู้สึกคิดถึงเ็ด็กๆจังเลยค่ะเลย

บันทึกการเข้าเรียนวันที่ 6 กรกฎาคม 2553

วันนี้มีการเปลี่ยนการเรียนการสอนโดยอ.กรรณิการ์ สุสม เข้าสอนและมีการย้ายห้องเรียนมาเรียนห้องช.บริหาร อาจารย์แจกเอกสารแนวการสอนรายวิชากระบวนการจัดประสบการณ์การศึกษาปฐมวัย และใช้สื่อเป็น power point อธิบายการเรียนรู้ของสมองเด็กปฐมวัย
การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็น พื้นฐาน (Brain-based Learning)สำหรับเด็กปฐมวัย


ช่วงระยะเวลาที่สำคัญที่สุดสำหรับการเรียนรู้ของมนุษย์คือ แรกเกิดถึง 7 ปี หากมาส่งเสริมหลังจากวัยนี้แล้วถือได้ว่าสายเสียแล้ว เพราะการพัฒนาสมองของมนุษย์ในช่วงวัยนี้จะพัฒนาไปถึง 80 % ของผู้ใหญ่ ครูควรจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก ให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น เรียนรู้อย่างมีความสุข จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ดูแลด้านสุขนิสัยและโภชนาการเหมาะสม เด็กจึงจะพัฒนาศักยภาพสมองของเขาได้อย่างเต็มความสามารถ
สมองของเด็กเรียนรู้มากกว่าสมองของผู้ใหญ่เป็นพันๆเท่า เด็กเรียนรู้ทุกอย่างที่เข้ามาปะทะ สิ่งที่เข้ามาปะทะล้วนเป็นข้อมูลเข้าไปกระตุ้นสมองเด็กทำให้เซลล์ต่างๆ เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อต่างๆอย่างมากมายซึ่งจะ ทำให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น สมองจะทำหน้าที่นี้ไปจนถึงอายุ 10 ปีจากนั้นสมองจะเริ่มขจัดข้อมูลที่ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวันทิ้งไปเพื่อให้ ส่วนที่เหลือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐาน (Brain-based Learning) เกี่ยวข้องกับเรื่องสำคัญ 3 ประการ คือ 1.)การทำงานของสมอง 2.)การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก 3.)กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยเปิดกว้าง ให้เด็กเรียนรู้ได้ทุกเรื่อง เนื่องจากสมองเรียนรู้ตลอดเวลา ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติหรือลงมือกระทำด้วยตนเอง ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบร่วมมือและผู้เรียนได้เรียนรู้แบบบูรณาการ การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐานส่งเสริมให้เด็กไทยได้พัฒนาศักยภาพสมองของ เขาอย่างเต็มความสามารถ

การทำงานของสมอง
สมองเริ่มมีการพัฒนาตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ เมื่อคลอดออกมาจะมีเซลล์สมองเกือบทั้งหมดแล้วเมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ สมองยังคงเติบโตไปได้อีกมากในช่วงแรกเกิดถึง 3 ปี เด็กวัยนี้จะมีขนาดสมองประมาณ 80 % ของผู้ใหญ่ หลังจากวัยนี้ไปแล้วจะไม่มีการเพิ่มเซลล์สมองอีกแต่จะเป็นการพัฒนาของโครง ข่ายเส้นใยประสาท ในวัย 10 ปีเป็นต้นไปสมองจะเริ่มเข้าสู่วัยถดถอยอย่างช้าๆจะไม่มีการสร้างเซลล์สมองมา ทดแทนใหม่อีก ปฐมวัยจึงเป็นวัยที่มีความสำคัญยิ่งของมนุษย์
สมองประกอบด้วย เซลล์สมองจำนวนกว่า 1 แสนล้านเซลล์ ลักษณะของเซลล์สมองแต่ละเซลล์จะมีส่วนที่ยื่นออกไปเป็นเส้นใยสมองแตกแขนงออก มามากมายเป็นพัน ๆ เส้นใยและเชื่อมโยงต่อกับเซลล์สมองอื่น ๆ เส้นใยสมองเหล่านี้เรียกว่า แอกซอน (Axon)และเดนไดรท์ (Dendrite)จุดเชื่อมต่อระหว่างแอกซอนและเดนไดรท์ เรียกว่า ซีนแนปส์ (Synapses)เส้นใยสมองแอกซอนทำหน้าที่ส่งสัญญาณกระแสประสาทไปยังเซลล์สมองที่ อยู่ถัดไป ซึ่งเซลล์สมองบางตัวอาจมีเส้นใยสมองแอกซอนสั้นเพื่อติดต่อกับเซลล์สมองตัว ถัดไปที่อยู่ชิดกัน แต่บางตัวก็มีเส้นใยสมองแอกซอนยาวเพื่อเชื่อมต่อกับเซลล์สมองตัวถัดไปที่ อยู่ห่างออกไป ส่วนเส้นใยสมองเดนไดรท์เป็นเส้นใยสมองที่ยื่นออกไป อีกทางหนึ่งทำหน้าที่รับสัญญาณกระแสประสาทจากเซลล์สมองข้างเคียงเป็นส่วนที่ เชื่อมติดต่อกับเซลล์สมองตัวอื่น ๆ เซลล์สมองและเส้นใยสมองเหล่านี้จะมีจุดเชื่อมต่อหรือซีนแนปส์(Synapses) เชื่อมโยงติดต่อถึงกันเปรียบเสมือนกับการเชื่อมโยงติดต่อกันของสายโทรศัพท์ ตามเมืองต่าง ๆ นั้นเอง
จากการทำงานของเซลล์สมองในส่วนต่าง ๆ ทำให้มนุษย์สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ สามารถเก็บเกี่ยวข้อมูลรอบตัวและสร้างความรู้ขึ้นมาได้นั้นคือ เกิดการคิด กระบวนการคิด และความคิดขึ้นในสมอง หลังเกิดความคิดก็มีการคิดค้นและมีผลผลิตเกิดขึ้น ยิ่งถ้าเด็กมีการใช้สมองเพื่อการเรียนรู้และการคิดมากเท่าไร ก็จะทำให้เซลล์สมองสร้างเครือข่ายเส้นใยสมองใหม่ ๆ แตกแขนงเชื่อมติดต่อกันมากยิ่งขึ้น ทำให้สมองมีขนาดใหญ่ขึ้นโดยไปเพิ่มขนาดของเซลล์สมองจำนวนเส้นใยสมองและจุด เชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง สมองของเด็กพัฒนาจากการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กพบว่า ทักษะความคล่องตัวของกล้ามเนื้อมัดเล็กจะพัฒนาภายในช่วงเวลา 10 ปีแรก ดังนั้นถ้าหากเด็กได้ฝึกฝนการใช้มือ การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของมือจะทำให้สมองสร้างเครือข่ายเส้นใยสมองและจุด เชื่อมต่อและสร้างไขมันล้อมรอบเส้นในสมอง และเซลล์สมองที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กได้มาก ทำให้เกิดทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
สมองมีหลายส่วนทำหน้าที่แตกต่างกันแต่ทำงานประสานกัน เช่นสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ และรับรู้การเคลื่อนไหว สี รูปร่างเป็นต้น หลายส่วนทำหน้าที่ประสานกันเพื่อรับรู้เหตุการณ์หนึ่ง เช่น การมองเห็นลูกเทนนิสลอยเข้ามา สมองส่วนที่รับรู้การเคลื่อนไหว สี และรูปร่าง สมองจะอยู่ในตำแหน่งแยกห่างจากกันในสมองแต่สมองทำงานร่วมกันเพื่อให้เรามอง เห็นภาพได้ จากนั้นสมองหลายส่วนทำหน้าที่ประสานเชื่อมโยงให้เราเรียนรู้และคิดว่าคือ อะไร เป็นอย่างไร ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น สมองสามารถเรียนรู้กับสถานการณ์หลาย ๆ แบบพร้อม ๆ กันโดยการเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เช่น สมองสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับความรู้ทางประวัติศาสตร์และคณิตศาสตร์เชื่อมโยง กันได้ การทำเช่นนี้ได้เป็นเพราะระบบการทำงานของสมองที่ซับซ้อน มีหลายชั้นหลายระดับ และทำงานเชื่อมโยงกันเนื่องจากมีเครือข่ายในสมองเชื่อมโยงเซลล์สมองถึงกัน หมด เครือข่ายเส้นใยสมองเหล่านี้เมื่อถูกสร้างขึ้นแล้ว ดูเหมือนว่าจะอยู่ไปอีกนานไม่มีสิ้นสุด ช่วยให้สมองสามารถรับรู้และเรียนรู้ได้ทั้งในส่วนย่อยและส่วนรวม สามารถคิดค้นหาความหมาย คิดหาคำตอบให้กับคำถามต่าง ๆ ของการเรียนรู้และพัฒนาความคิดใหม่ ๆ ออกมาได้อีกด้วย
นอกจากนี้จากการศึกษาพบว่า ความเครียดขัดขวางการคิดและการเรียนรู้ เด็กที่เกิดความเครียดจะมีประสบการณ์ที่ไม่ดีเช่นเด็กที่ได้รับ ประสบการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจทำให้เกิดความหวาดกลัว เครียด บรรยากาศการเรียนรู้ไม่มีความสุข คับข้องใจ ครูอารมณ์เสีย ครูอารมณ์ไม่สม่ำเสมอเดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย ครูดุ ขณะที่เด็กเกิดความเครียด สารเคมีทั้งร่างกายปล่อยออกมาจะไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสมอง ทำให้เกิดการสร้างฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียด เรียกว่า คอร์ติโซล (Cortisol) จะทำลายสมองโดยเฉพาะสมองส่วนคอร์เท็กซ์หรือพื้นผิวสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยว กับความคิด ความฉลาด กับสมองส่วนฮิปโปแคมปัสหรือสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์และความจำ ซึ่งความเครียดทำให้สมองส่วนนี้เล็กลง เด็กที่ได้รับความเครียดอยู่ตลอดเวลา หรือพบความเครียดที่ไม่สามารถจะคาดเดาได้ ส่งผลต่อการขาดความสามารถในการเรียนรู้ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะเด็กมีสมองพร้อมที่จะเรียนได้ แต่ถูกทำลายเพราะความเครียดทำให้ความสามารถในการเรียนรู้ได้หายไปตลอดชีวิต

การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาศักยภาพทางสมองจำเป็น ต้องคำนึงถึงกระบวนการทำงานของสมองและการทำงานให้ประสานสัมพันธ์ของสมองซีก ซ้ายและสมองซีกขวา สมองซีกซ้ายควบคุมความมีเหตุผลเป็นการเรียนด้านภาษา จำนวนตัวเลข วิทยาศาสตร์ ตรรกศาสตร์ การคิดวิเคราะห์ ในขณะที่สมองซีกขวาเป็นด้านศิลปะ จินตนาการ ดนตรี ระยะ/มิติ หากครูสามารถจัดหลักสูตรการเรียนการสอนให้เด็กได้ใช้ความคิดโดยผสมผสานความ สามารถของการใช้สมองทั้งสองซีกเข้าด้วยกันให้สมองทั้งสองซีกเสริมส่งซึ่งกัน และกัน ผู้เรียนจะสามารถสร้างผลงานได้ดีเยี่ยม เป็นผลงานมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสามารถแสดงความมีเหตุผลผสมผสานในผล งานชิ้นเดียวกัน
หลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยควรคำนึงถึงการเรียนรู้ในด้านต่างๆ ดังนี้
1. การเคลื่อนไหวของร่างกาย ฝึกการยืน เดิน วิ่ง จับ ขว้าง กระโดด การเคลื่อนไหวไปในทิศทางต่างๆที่เราต้องการ หรือพวกนักกีฬาต่างๆ
2. ภาษาและการสื่อสาร เป็นการใช้ภาษาสื่อสารโดยการปฏิบัติจริง จากการพูด การฟัง การอ่านและการเขียน เช่น ให้เด็กเล่าสิ่งที่เขาได้พบเห็น ได้ลงมือกระทำ ฟังเรื่องราวต่างๆที่เด็กต้องการเล่าให้ฟังด้วยความตั้งใจ เล่านิทานให้ลูกฟังทุกวัน เล่าจบตั้งคำถามหรือสนทนากับลูกเกี่ยวกับเรื่องราวในนิทาน อ่านคำจากป้ายประกาศต่างๆที่พบเห็น ให้เด็กได้วาดภาพสิ่งที่เขาได้พบเห็นหรือเขียนคำต่างๆที่เขาได้พบเห็น
3. การรู้จักการหาเหตุผล ฝึกให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต การเปรียบเทียบ จำแนกแยกแยะสิ่งต่างๆ จัดหมวดหมู่สิ่งของที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน เรียนรู้ขนาด ปริมาณ การเพิ่มขึ้นลดลง การใช้ตัวเลข
4. มิติสัมพันธ์และจินตนาการจากการมองเห็น ให้เด็กได้สัมผัสวัตถุต่างๆที่เป็นของจริง เรียนรู้สิ่งต่างๆจากประสบการณ์ตรง เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง ระยะ ขนาดตำแหน่ง และการมองเห็น สังเกตรายละเอียดของสิ่งต่างรอบตัว เข้าใจสิ่งที่มองเห็นได้สัมผัส สามารถนำสิ่งที่เข้าใจออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
5. ดนตรีและจังหวะ ให้เด็กได้ฟังดนตรี แยกแยะเสียงต่างๆ ร้องเพลง เล่นเครื่องดนตรี ฝึกให้เด็กรู้จักจังหวะดนตรี
6. การมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ฝึกให้เด็กอยู่ร่วมกับผู้อื่นในด้านการช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อ แบ่งปัน เข้าใจผู้อื่น เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น ปฏิสัมพันธ์ในสังคมของมนุษย์เป็นรากฐานสำคัญของการเรียนรู้และสติปัญญา
7. การรู้จักตนเอง รับรู้อารมณ์ความรู้สึกของตนเอง เข้าใจตนเอง จะทำให้ดูแลกำกับพฤติกรรมตนเองได้อย่างเหมาะสม
8. การปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ

กระบวนการจัดการเรียนรู้
เด็กปฐมวัยเรียนรู้ผ่านการเล่น เรียนรู้อย่างมีความสุข จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ ลักษณะกระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นแบบเปิดกว้าง จัดให้มีประสบการณ์ที่หลากหลายโดยให้เด็กได้เรียนรู้ตามความสนใจหรือให้เด็ก ได้แสดงออกในแนวทางที่เขาสนใจ เรียนรู้แบบปฏิบัติจริงโดยการใช้ประสาทสัมผัสกระทำกับวัตถุด้วยความอยากรู้ อยากเห็น ได้ทดลองสร้างสิ่งใหม่ๆ เด็กเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น เด็กได้การเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นกลุ่มเล็กๆ และเป็นรายบุคคล การให้เด็กได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลอื่นทำให้เด็กได้ตรวจสอบ ความคิดของตน แต่เมื่อมีปัญหาเด็กต้องการคำแนะนำจากผู้ใหญ่ ควรให้เด็กได้เรียนรู้แบบบูรณาการซึ่งเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องราวที่ เกิดขึ้นในชีวิตจริงเป็นตัวตั้ง มีการเชื่อมโยงหลากหลายสาขาวิชา บทบาทของครูเป็นผู้ให้คำแนะนำเมื่อเด็กต้องการและให้การสนับสนุนอย่างเหมาะ สม
ผู้ปกครองมีบทบาทอย่างไรในการช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก
1. ให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยการลงมือกระทำโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
ในการทำกิจกรรม 1 กิจกรรมพยายามให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสหลายอย่างร่วมกัน
การเรียนจากการปฏิบัติจะทำให้เด็กเกิดความเข้าใจ

“ ฉันฟัง ฉันลืม ฉันเห็น ฉันจำได้ ฉันได้ทำ ฉันเข้าใจ”

2. ให้เด็กได้พูดในสิ่งที่เขาคิด และได้ลงมือกระทำ ถ้าไม่ได้พูดสมองไม่พัฒนา ต้องฝึกให้ใช้สมองมากๆอย่างมีความสุข ไม่ให้เครียด
3. ผู้ใหญ่ต้องรับฟังในสิ่งที่เขาพูดด้วยความตั้งใจ และพยายามเข้าใจเขา
บรรยากาศในห้องเรียนวันนี้เย็นสบายมากๆจนทำให้รู้สึกง่วงนอนมากเลย แต่อาจารย์ได้อธิบายเนื้อหาเป็นคำพูดแล้วมีการถามตอบนักศึกษาบ้าง จึงทำให้ดิฉันตั้งใจฟังในการตอบคำถามมากๆค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเข้าเรียนวันที่ 29 มิถุนายน 2553


รูปแบบการเรียนรู้เด็กปฐมวัย มีรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลาย มีวิธีการสอน แนวทางการสอนที่แตกต่างกันไป โดยคำนึงถึงคุณลักษณะตามวัยของเด็ก ซึ่งพัฒนาการในแต่ละด้าน ทั้ง 4 ด้าน มีร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา สังคมจะแตกต่างกันแต่ละช่วงอายุ การจัดกิจกรรมนั้นต้องเข้าใจธรรมชาติของเด็กปฐมวัยด้วย เช่น ชอบช่วยเหลือตนเองได้ ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้รับคำชม ฯลฯ
ทฤษฎีการเรียนรู้ เช่น การทดลองฟาทลอฟ คือการให้อาหารสุนัข โดยการสั่นกระดิ่ง มีการวางเงื่อนไขให้เกิดการเรียนรู้
สรุปโดย : นางสาวรชตวรรณ ศิริรัตน์

การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3-5 ปี
สรุปโดย : นางสาวรัชนี บุตรวาปี

ในการสังเกตทางด้านการเรียนรู้จากพฤติกรรมของเด็กในแต่ละวัย เช่น
อายุ 3 ขวบ จะใช้คำถามว่า “อะไร”
อายุ 4 ขวบ จะใช้คำถามว่า “ทำไม”
อายุ 5 ขวบ จะใช้คำถามว่า “ทำไม , อย่างไร”
สรุปโดย : นายจีรศักดิ์ กุลแดง

อายุ 3 ขวบ ครูควรจัดกิจกรรม เช่น ปริศนาคำทาย นิทานที่น่าสนใจ แปลก ท้าทาย ให้เด็กกระทำด้วยตนเอง
เช่น เอ๊ะ! อะไรอยู่ในนั้น
อายุ 4 ขวบ ครูใช้สื่อหรือเหตุการณ์ ทำให้เกิดปัญหา ข้อสงสัย
อายุ 5 ขวบ ครูควรจัดกิจกรรมให้เด็กทดลอง ปฏิบัติ
รูปแบบการเรียนรู้ปฐมวัยนึกถึงอะไร ?
- เทคนิควิธี
- แนวทาง
- เป้าหมาย
- วิธีจัดกิจกรรมอย่างเป็นขั้นตอน
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสิคไปใช้ในการเรียนการสอน
- ครูสร้างบรรยากาศที่ดีในชั้นเรียน
- ครูวางตัวให้เกิดศรัทธา
- จัดกิจกรรมบทเรียนให้น่าสนใจ พร้อมทั้งให้ความรู้และสนุกสนาน
สรุปโดย : นางสาวสรินนา โชติพนัส

ทฤษฎีการเรียนรู้ มีการทดลองในรูปแบบต่างๆและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และมีการเปลี่ยนแปลงในตนเอง
สรุปโดย : นางสาวพิลาสลักษณ์ ภาสะเตมีย์

วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553

บันทึกการเข้าเรียนวันที่ 22 มิถุนายน 2553


วันนี้เป็นวันแรกค่ะที่พวกเราเรียนวิชานี้ ครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้งที่ได้เรียนกลับอาจารย์อีก ดิฉันรู้สึกดีใจมากเลยค่ะ
อาจารย์เข้ามาสอนด้วยสีหน้าเร่งรีบมาเลย เพราะอาจารย์ติดประชุมที่คณะศึกษาศาสตร์ แต่ก็ต้องขึ้นมาปฐมนิเทศอธิบายรายวิชานี้ให้พวกเราฟังก่อน พร้อมกับสั่งงาน อาจารย์ให้พวกเราสร้างบล็อกเกี่ยวกับรายวิชากระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิชาการศึกษาปฐมวัยอีกครั้ง เพื่อเป็นแฟ้มสะสมผลงานของรายวิชา และบันทึกการเข้าเรียนทุกครั้งให้ได้อย่างเป็นระเบียบ ง่ายต่อการเก็บผลงานเป็นอย่างดี พร้อมข้อมูลสาระเทคนิคของครูปฐมวัย งานวิจัย สื่อการสอนต่างๆที่เกี่ยวข้องกัน และออกแบบสร้างสรรค์บล็อกของตนเองให้สวยงาม หลังจากสั้งงานเสร็จ อาจารย์ก็ปล่อยก่อนเวลาให้พวกเราใช้เวลาที่เหลือไปทำบล็อก แล้วอาจารย์ก็ขอตัวไปประชุม แล้วสัปดาห์อาจารย์จะตรวจบล็อก
พออาจารย์เลิกสอนพวกเราก็รีบไปเรียนต่ออีกวิชาหนึ่งเลยค่ะ เลยไม่ได้ไปทำบล็อกค่ะ แต่พอมีเวลาว่างวันนี้เลยต้องรีบทำค่ะ จะได้มีเวลาหาข้อมูลลงในบล็อกด้วย เดี๋ยวเสร็จไม่ทันอาจารย์ตรวจค่ะ